วันศุกร์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2558

อาหารพื้นเมืองของจังหวัดเชียงราย


แกงฮังเล 

                  แกงฮังเล บางแห่งก็เรียกว่า แกงฮินเล หรือ แกงฮันเล มีอยู่ ๒ ชนิด คือ แกงฮังเลม่าน และ แกงฮังเลเชียงแสน เชื่อกันว่าแกงฮังเลเป็นอาหารที่ได้รับอิทธิพลมาจากพม่าในสมัยอดีต จากการศึกษาของอุบลรัตน์ พันธุมินทร์ จากแหล่งข้อมูลพุกาม พบว่าแกงที่ชาวพม่าเรียกว่า “ ฮินแล หรือ “ ฮังแล ” นั้นเป็นแกงอย่างเดียวกับที่ชาวล้านนาเรียกว่า “ แกงโฮะ ” ส่วนแกงอย่างที่ชาวล้านนาเรียก “ ฮินแล ” หรือ “ ฮังแล ” นั้น ชาวพม่าเรียก “ แวะตาฮีน ” ซึ่งแปลว่าแกงหมู 


แกงโฮ๊ะ 

                 แกงโฮ๊ะ  คำว่า โฮ๊ะ แปลว่า รวม แกงโฮ๊ะ ก็คือการนำเอาอาหารหลายๆอย่างมารวมกัน หรือเวลาที่อาหารเหลือจากการรับประทานคนเหนือก็จะนำมาแกงโฮ๊ะหรือคั่วโฮ๊ะนั่นเอง แกงโฮ๊ะจะมีรสชาติเผ็ดร้อน หอมเครื่องแกง รับประทานกับข้าวเหนียวหรือข้าวสวย ก็ได้ 


ข้าวซอย
               ข้าวซอย   คือ อาหารพื้นเมืองทางภาคเหนือของประเทศไทย เดิมเรียกว่า ก๋วยเตี๋ยวฮ่อ เป็น อาหารที่คล้ายเส้นบะหมี่ ในน้ำซุปที่ใส่เครื่องแกง รสจัดจ้าน ในตำรับดั้งเดิม ข้าวซอยจะมีส่วนประกอบของเนื้อหมูหรือเนื้อไก่หรือเนื้อวัว มีเครื่องเคียงได้แก่ ผักกาดดอง หอมหัวแดง และมีเครื่องปรุงรส
ขนมจีนน้ำเงี้ยว   


                 ขนมจีนน้ำเงี้ยว   เป็นอาหารยอดนิยมของคนล้านนา มานาน ประกอบด้วยเส้นขนมจีน,เลือดหมูเนื้อหมูมะเขือเทศ เป็นหลัก มีทั้งสูตรเชียงราย (ใส่ดอกงิ้ว) สูตรเชียงใหม่ (ใส่เต้าเจี๊ยว) สูตรลำปาง (ใส่ถั่วเน่า) สูตรแพร่ (เป็นแบบน้ำใส) เป็นต้น

ขอบคุณข้อมูลจาก http://orachaporn2539.blogspot.com/2013/08/blog-post_484.html

ศิลปวัฒนธรรม และประเพณี

  • แห่พระแวดเวียง
ประเพณีอัญเชิญพระพุทธรูปแวดเวียงเชียงราย ซึ่งมีพื้นฐานความคิดมาจากตำนานพระเจ้าเลียบโลก ด้วยมีจุดมุ่งหมาย ให้ประชาชนได้มีโอกาสสักการบูชาพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง ซึ่งประดิษฐานอยู่ตามวัดวาอารามต่าง ๆ ในตัวเมืองเชียงราย เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตในวาระของการส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ โดยการอัญเชิญพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองเชียงราย มาประดิษฐานบนบุษบกที่ได้สร้างขึ้นโดยช่างศิลปินที่มีชื่อเสียงของจังหวัดเชียงราย จัดตั้งเป็นขบวนอัญเชิญไปรอบเมืองเชียงราย ให้พุทธศาสนิกชนได้มีโอกาสกราบไหว้สักการบูชาด้วย ข้าวตอก ดอกไม้ เป็นการเริ่มต้นปีใหม่ที่เป็นสิริมงคลยิ่งนัก

  • ปอยหลวง
งานบุญปอยหลวงเป็นเอกลักษณ์ของชาวล้านนาซึ่งเป็นผลดีต่อสภาพทางสังคมหลายประการ นับตั้งแต่ชาวบ้านได้มาทำบุญร่วมกัน ร่วมกันจัดงานทำให้เกิดความสามัคคีในการทำงาน งานทำบุญปอยหลวงยังเป็นการรวมญาติพี่น้องที่อยู่ต่างถิ่นได้มีโอกาสทำบุญร่วมกัน และมีการสืบทอดประเพณีที่เคยปฏิบัติกันมาครั้งแต่บรรพชนไม่ให้สูญหายไปจากสังคม ช่วงเวลา จากเดือน 5 จนถึงเดือน 7 เหนือ (ตรงกับเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนเมษายนหรือเดือนพฤษภาคมของทุกปี) ระยะเวลาประมาณ 3-7 วัน

  • ป๋าเวณี ปี๋ใหม่เมือง งานประเพณีสงกรานต์
จัดขึ้นประมาณกลางเดือนเมษายน ในงานมีขบวนแห่และสรงน้ำพระเจ้าล้านทอง การแข่งเรือ และการละเล่นพื้นเมืองและมหรสพ จัดบริเวณตัวเมืองเชียงราย และอำเภอเชียงแสน

  • งานเทศกาลลิ้นจี่และของดีเมืองเชียงราย
เทศกาลที่ชาวเกษตรกรต่างนำผลผลิตทางการเกษตรของตนมาออกร้าน โดยเฉพาะลิ้นจี่ที่มีชื่อเสียงมากของเชียงราย จัดขึ้นประมาณกลางเดือนพฤษภาคมของทุกปี ภายในงานมีการประกวดขบวนรถและธิดาลิ้นจี่ และการออกร้าน บริเวณสนามกีฬากลางจังหวัดเชียงราย

  • งานไหว้สาพญามังราย
จัดให้มีพิธีบวงสรวงพญามังราย มีการออกร้าน จัดนิทรรศการของส่วนราชการและเอกชน และงานรื่นเริงอื่น ๆ จัดวันที่ 23 มกราคม-1 กุมภาพันธ์

  • เป็งปุ๊ด
“เป็งปุ๊ด” หรือ “เพ็ญพุธ” เป็นประเพณีตักบาตรเที่ยงคืนค่อนรุ่งเข้าสู่วันเพ็ญขึ้น15 ค่ำที่ตรงกับวันพุธ ตามวัฒนธรรมและความเชื่อของบรรพบุรุษล้านนาไทย ที่เชื่อกันว่าพระอุปคุตซึ่งพระอรหันต์องค์หนึ่งแปลงกันยายนป็นสามเณรน้อยมาบิณฑบาตโปรดสัตว์โลกในยามเที่ยงคืน และชาวล้านนาในอดีตเชื่อว่าการทำบุญตักบาตรถวายพระอุปคุตในวันเป็งปุ๊ดก็จะได้ชื่อว่าเป็นผู้มีบุญ มีโชคลาภและร่ำรวย บังเกิดความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต โดยบรรพบุรุษชาวล้านนาเชื่อว่า ทุกคืนที่ย่างเข้าสู่วันพุธขึ้น 15 ค่ำ เป็นวันเป็งปุ๊ด และจะมีประชาชนชาวล้านนาจำนวนมากมารอเพื่อประกอบพิธีทำบุญตักบาตรพระภิกษุสามเณร

  • งานอนุรักษ์มรดกไทยล้านนา
จัดในเดือนเมษายน มีการจัดนิทรรศการและการแสดงแบบไทยล้านนา มีการสาธิตงานศิลปะ บริเวณหอวัฒนธรรมนิทัศน์ อำเภอเมือง

  • งานประเพณีขึ้นพระธาตุดอยตุง
จัดขึ้นในวันขึ้น 14-15 ค่ำ เดือนหกเหนือ หรือเดือนมีนาคม เป็นประเพณีของชาว ล้านนา รวมทั้งชาวไทยใหญ่ในพม่าที่ปฏิบัติสืบต่อกันมา โดยชาวบ้านและพระสงฆ์ จะเดินขึ้นพระธาตุในตอนกลางคืน เมื่อมาถึงก็จะพากันนมัสการองค์พระธาตุก่อน จากนั้นจึงหาพื้นที่ประกอบอาหารเพื่อตักบาตรในตอนเช้า หลังจากตักบาตรแล้วจะ ช่วยกันบูรณะบริเวณองค์พระธาตุ เมื่อถึงยามค่ำคืนก็มารวมกันที่ปะรำพิธีเพื่อฟังเทศนา

  • ประเพณีบวงสรวงเจ้าพ่อปลาบึก
เป็นประเพณีเกี่ยวกับความเชื่อของผู้คนที่อยู่ริมแม่น้ำโขง โดยเฉพาะชาวประมง ในเขตบ้านหาดไคร้ ตำบลเวียง อำเภอเชียงของ เกี่ยวกับปลาบึกซึ่งเป็นปลาขนาด ใหญ่อาศัยอยู่ในแม่น้ำโขงว่า เป็นปลาศักดิ์สิทธิ์ มีเทพเจ้าคุ้มครอง ก่อนที่ชาวประมง จะจับปลาบึกต้องมีการบวงสรวงก่อน ฤดูกาลจับปลาบึกันยายน่ระหว่างเดือนเมษายน-พฤษภาคม

  • ประเพณีโล้ชิงช้าของชาวอีก้อ
หรือที่เรียกตนเองว่า "อาข่า" มีเชื้อสายจากจีน-ทิเบต เดินทางอพยพมาอยู่บริเวณ ชายแดนไทย-พม่า แถบตอนเหนือของลำน้ำกก โดยเฉพาะอำเภอแม่จัน และแม่สาย การโล้ชิงช้าเป็นการขึ้นไปขอพรและแสดงความรำลึกถึงพระคุณของเทพธิดาแห่ง สรวงสวรรค์ ผู้ประทานความชุ่มชื่นอุดมสมบูรณ์ให้กับพืชพันธุ์ธัญญาหารและ ยังเป็นการเซ่นไหว้บรรพบุรุษอีกด้วย จัดในช่วงเดือนสิงหาคม

ขอบคุณรูปภาพและข้อมูลจาก http://orachaporn2539.blogspot.com/ 
และ http://www.prapayneethai.com/

แหล่งท่องเที่ยว

ที่มา https://www.youtube.com/watch?v=TyKI2hOk2-Q
          จังหวัดเชียงรายมีแหล่งท่องเที่ยวจำนวนมากถึง 121 แห่ง โดยจำแนกเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ 58 แห่ง ด้านประวัติศาสตร์ จำนวน 46 แห่ง ด้านศิลปวัฒนธรรม 17 แห่ง และยังเป็นแหล่งอารยธรรมชนแห่งชนชาติมากกว่า 30 ชนเผ่า แหล่งรวมศิลปินมากกว่า 100 ชีวิต เป็นเมืองประวัติศาสตร์ต้นกำเนิดแห่งอาณาจักรล้านนาซึ่งมีอายุมากกว่า 700 ปี
สถานที่สำคัญที่ดึงดูดทั้งนักท่องเที่ยวและธุรกิจที่รองรับหรือต่อเนื่องจากการท่องเที่ยวให้เข้าไปตั้งในพื้นที่หรือพื้นที่ใกล้เคียง ได้แก่ โบราณสถานเชียงแสน พระธาตุดอยตุง วัดต่าง ๆ (วัดพระแก้ว วัดพระสิงห์ วัดร่องขุ่น วัดพระธาตุผาเงา วัดพระธาตุจอมกิตติ ฯลฯ) ธรรมชาติเช่น ดอยแม่สลอง ภูชีฟ้า ล่องแพแม่น้ำกก น้ำตกห้วยแม่ซ้าย ชายหาดเชียงราย (ริมแม่น้ำกก) สามเหลี่ยมทองคำ ทิวทัศน์ริมโขงที่เชียงของ เป็นต้น
อย่างไรก็ดี ความโดดเด่นของการจัดงานประเพณีหรือวัฒนธรรมของจังหวัดเชียงราย ยังไม่สามารถสร้างความสนใจหรือดึงดูดใจนักท่องเที่ยวมากนักเมื่อเทียบกับจังหวัดอื่น ๆ เช่น ประเพณีงานสงกรานต์หรือประเพณีงานลอยกระทงของจังหวัดเชียงใหม่

สถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ

  • สามเหลี่ยมทองคำ
  • น้ำตกขุนกรณ์
  • ภูชี้ฟ้า
  • ดอยแม่สลอง
  • ดอยวาวี
  • ดอยผาตั้ง
  • น้ำตกปูแกง
  • หาดเชียงราย
  • บ่อน้ำร้อนแม่ขะจาน
  • ถ้ำปุ่ม ถ้ำปลา
  • ถ้ำผาจรุย
  • สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ เชียงราย
  • ดอยตุง
  • โป่งพระบาท

สถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม

  • วัดพระมหาชินธาตุเจ้า (ดอยตุง) อำเภอแม่ฟ้าหลวง
  • วัดร่องขุ่น โดยเฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ อำเภอเมืองเชียงราย
  • พระธาตุ 9 จอม
  • พระตำหนักดอยตุง อำเภอแม่ฟ้าหลวง
  • แหล่งเตาเผาเวียงกาหลง อำเภอเวียงป่าเป้า
  • พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อำเภอเชียงแสน
  • พระเจ้าเม็งราย อำเภอเมืองเชียงราย
  • วัดพระสิงห์ อำเภอเมืองเชียงราย
  • วัดพระแก้ว อำเภอเมืองเชียงราย
  • ไร่แม่ฟ้าหลวง อำเภอเมืองเชียงราย
  • พิพิธภัณฑ์อูบคำ อำเภอเมืองเชียงราย

สถานที่ท่องเที่ยวอื่น ๆ

  • ด่านพรมแดนแม่สาย
  • ถนนคนเดินเชียงราย
  • อำเภอเชียงของ
  • เชียงรายไนท์บาซ่าร์
  • ถนนคนเดิน แม่สาย
  • ถนนคนเดินแม่จัน
  • ริมโขง เชียงแสน
  • ดอยแม่สลอง
  • ไร่ชาฉุยฟง แม่จัน


ทิปส์ท่องเที่ยว
  • ช่วงฤดูหนาวเป็นเวลาที่เหมาะสมที่สุดในการเดินทางไปท่องเที่ยวจังหวัดเชียงราย บรรยากาศตามดอยต่างๆ จะหนาวเย็นสดชื่น โดยเฉพาะแหล่งท่องเที่ยวย่านดอยตุง ดอยแม่สลอง ภูชี้ฟ้า ผาตั้ง ยามเช้ามีโอกาสเห็นทะเลหมอกที่สวยงาม
  • ช่วงปีใหม่มีเทศกาลงานปีใหม่ชาวไทยภูเขาหลายเผ่า มีการละเล่น การแสดงในชุดประจำเผ่าสวยงาม เช่น เผ่าม้งจะจัดงานปีใหม่ช่วงสัปดาห์สุดท้ายของธันวาคมถึงต้นเดือนมกราคม เผ่าอาข่าจัดงานปีใหม่ลูกข่างช่วงปลายเดือนธันวาคม เป็นต้น ควรเช็ควันจัดงานก่อนเดินทางไปเที่ยว
  • ดอกซากุระที่ดอยแม่สลองมักออกดอกบานสะพรั่งในช่วงเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์ของทุกปี หากต้องการไปชม ควรตรวจสอบก่อนว่าดอกไม้บานหรือยัง

ขอบคุณข้อมุลจาก http://www.unseentravel.com/zone/1/1 
http://122.155.9.68/identity/index.php/north/n-upper-2/chiangrai
http://chadapornfren1996.blogspot.com/2015_10_01_archive.html

เศรษฐกิจ


           ภาคเศรษฐกิจที่สำคัญของเชียงราย คือ ภาคการเกษตร ซึ่งมีสัดส่วนในผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัดถึงร้อยละ 32 ส่วนภาคการค้าส่งและค้าปลีกมีสัดส่วนร้อยละ 17 และภาคอุตสาหกรรมมีสัดส่วนร้อยละ 12

พืชเศรษฐกิจ
           พืชเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัดเชียงราย ประกอบด้วย ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ถั่วเหลือง ลำไย ลิ้นจี่ ยางพารา และพืชผัก นอกจากนี้ยังมีพืชเศรษฐกิจใหม่ที่จังหวัดมุ่งพัฒนาให้เป็นพืชเศรษฐกิจเฉพาะถิ่น ได้แก่ ชา กาแฟ สับปะรด เป็นต้น
          เชียงรายเป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ปลูกชามากที่สุดของประเทศ และในปี 2547 จังหวัดได้กำหนดให้ชาเป็นพืชยุทธศาสตร์หลัก โดยส่งเสริมให้มีการปลูกชาเพิ่มมากขึ้นเพื่อทดแทนพืชอื่น ๆ ที่ให้ผลตอบแทนต่ำ และผลักดันให้จังหวัดเชียงรายเป็นศูนย์กลางผลิตชาพันธุ์ดีของประเทศ พันธุ์ที่ปลูก ได้แก่ ชาอัสสัม ซึ่งเป็นพันธุ์ดั้งเดิม และชาจีน ที่เริ่มนิยมปลูกเนื่องจากให้ผลตอบแทนสูงและเป็นที่ต้องการของตลาด แหล่งผลิตสำคัญอยู่ในเขตอำเภอแม่ฟ้าหลวง แม่สรวย และเวียงป่าเป้า
          พืชเศรษฐกิจใหม่ที่มีลักษณะเฉพาะถิ่นอีกชนิดหนึ่ง ได้แก่ กาแฟ เนื่องจากมีคุณภาพตรงตามความต้องการของตลาดต่างประเทศ แหล่งผลิตที่สำคัญอยู่ในเขตอำเภอแม่สรวย แม่ฟ้ าหลวง เมือง และแม่สาย

อุตสาหกรรม
           มีโรงงานที่ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงราย (ยอดสะสมถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2551) รวมทั้งสิ้น 783 โรงงาน เงินลงทุนรวม 8,440 ล้านบาท จ้างงานรวม 13,441 คน ส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมการเกษตร (โรงสีข้าว กิจการบ่มใบชา บ่มใบยาสูบ อบเมล็ดพืช) รองลงมาคือ อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมอโลหะ อุตสาหกรรมที่สนับสนุนกิจการก่อสร้าง โดยอำเภอเมืองมีโรงงานตั้งอยู่มากที่สุด รองลงมาคือ อำเภอแม่จัน อำเภอแม่สาย

การค้าชายแดน
         จากที่ตั้งของจังหวัดเชียงรายที่เป็นเมืองชายแดนด้านทิศเหนือ จึงมีจุดเด่นทางภูมิศาสตร์ที่เหมาะแก่การเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงตอนบน (GMS) ซึ่งประกอบด้วยสาธารณรัฐประชาชนจีน (ตอนใต้) สหภาพพม่า และ สปป.ลาว
        นอกจากเป็นจังหวัดชายแดนแล้ว เชียงรายยังมีโครงสร้างพื้นฐานระบบสาธารณูปโภค สิ่งอำนวยความสะดวกแก่นักธุรกิจและนักท่องเที่ยว อาทิ
ท่าอากาศยานนานาชาติจังหวัดเชียงราย
เส้นทางการคมนาคมทางบกเชื่อมโยงโครงข่ายทางหลวงภาคเหนือตอนบน ทั้งยังเชื่อมโยงไปยังประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงตอนบนได้ถึง 2 เส้นทาง คือ เส้นทาง R3Aไทย ลาว จีน และเส้นทาง R3B ไทย พม่า จีน
การคมนาคมทางน้ำ ทั้งด้านการขนส่งและการเดินทางโดยใช้แม่น้ำโขง ในจังหวัดเชียงรายมีท่าเทียบเรือที่อำเภอเชียงแสนและอำเภอเชียงของ
ระบบสาธารณูปโภคเหล่านี้เป็นปัจจัยสำคัญที่เอื้อต่อการค้าชายแดน การขนส่งสินค้าทั้งในประเทศและไปยังต่างประเทศ ตลอดจนการท่องเที่ยวที่เชื่อมโยงภาคเหนือตอนบนกับอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง และต่อไปยังประเทศจีนอีกด้วย
        
ขอบคุณข้อมูลจาก http://122.155.9.68/identity/index.php/north/n-upper-2/chiangrai

สังคมและวัฒนธรรม



            
           จังหวัดเชียงรายมีทุนทางสังคมและวัฒนธรรมล้านนาอันเป็นอัตลักษณ์ที่โดด เด่น มีประเพณี ภาษาท้องถิ่น ศิลปกรรม โบราณสถานที่มีประวัติศาสตร์เก่าแก่ และความหลากหลายทางชาติพันธุ์ โดยเฉพาะชนเผ่าชาวเขากลุ่มต่าง ๆ ประชาชนมีภูมิปัญญาท้องถิ่น และอัธยาศัยไมตรีดี อ่อนโยน เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีความเชื่อในวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น รวมทั้งศาสนา มีวิถีชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ประชากรมีอัตราการเรียนต่อหลัง จบการศึกษาภาคบังคับอยู่ในระดับสูง มีสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่ได้มาตรฐานสากล ภาคประชาสังคมและประชาชนมีการรวมกลุ่ม และมีส่วนร่วมในกิจกรรมด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
            จากการสำรวจด้วยภาพถ่ายทางอากาศ พบว่าเชียงรายมีแหล่งโบราณคดีมากถึง 200 แหล่ง แต่ในปัจจุบันแหล่งโบราณคดีบางแห่งก็ถูกบุกรุก ไถกลบเพื่อเป็นที่อยู่อาศัย เพื่อทำการเกษตรและแหล่งประกอบการอื่น ๆ
             ในบรรดาแหล่งโบราณคดีทั้งหลายของเชียงราย เมืองโบราณที่ได้ชื่อว่าเป็นแหล่งกำเนิดอารยธรรมของล้านนาที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาในอดีต คือ เมืองโบราณเชียงแสน ซึ่งปัจจุบันกรมศิลปากรได้เข้าไปทำการศึกษาจัดทำแผนแม่บทเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาไปในแนวทางที่ถูกต้อง

นอกจากนี้เชียงรายยังมีแหล่งโบราณคดีขนาดใหญ่ที่ควรทำการศึกษาอีกมากมายหลายแหล่ง เช่น เวียงหนองหล่ม อำเภอเชียงแสน เวียงกาหลง อำเภอเวียงป่าเป้า และดงเวียงแก่น อำเภอเวียงแก่น


ภาษา

           ภาษาพูด ใช้พูดจากันเรียกว่า คำเมือง เนื่องจากเชียงรายเคยเป็นเมืองร้างผู้คนนานเกือบร้อยปี ได้มีการฟื้นฟูบ้านเมืองขึ้นมาใหม่เมื่อประมาณ ปี พ.ศ. 2384 โดยได้เกณฑ์ราษฎรจากเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง ตาก แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ และชนเผ่าไตใหญ่ ไตลื้อ ไตยอง และไตขืน (เขิน) ซึ่งอพยพจากเชียงตุง และสิบสองปันนา รวมทั้งชาวลาวจากประเทศลาว ได้เข้ามาอาศัยอยู่รวมกัน ดังนั้นสำเนียงพูดของชาวเชียงรายจึงมีความหลากหลายทางสำเนียงในพื้นที่ต่างๆ
           ภาษาเขียน เชียงรายก็เช่นเดียวกันกับจังหวัดทางภาคเหนืออื่น ๆ คือมีภาษาเขียนที่เรียกว่าอักขระล้านนา หรือตัวเมือง อักษรล้านนามีวิวัฒนาการมาจากอักษรพราหมีของอินเดีย มีการจัดระบบของหลักภาษาคล้ายกับภาษาบาลี อักษรล้านนามีรูปทรงกลมป้อมคล้ายอักษรพม่าและมอญ แต่หลักการทางภาษาไม่เหมือนกัน


ประชากร

            จังหวัดเชียงรายมีประชากรหลายเชื้อชาติ ทั้งชาวไทยพื้นราบ ชาวไทยภูเขา และชาวจีนฮ่อที่อพยพเข้ามาอาศัยอยู่บนดอยสูง แต่ละชนชาติจะมีประเพณี วัฒนธรรม และวิถีชีวิตที่มีเอกลักษณ์ เป็นเสน่ห์อีกอย่างที่ทำให้เชียงรายได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ประชากรในเขตจังหวัดเชียงราย แบ่งออกได้เป็นหลายกลุ่ม อาทิ

คนไทยพื้นราบ 
ประกอบด้วยชาวไทยวน ไทลื้อ ไทเขิน ไทใหญ่ ดังนี้
ไทยวน หรือ คนเมือง เป็นประชากรกลุ่มใหญ่ที่สุด
ไทลื้อ,ไทเขิน,ไทใหญ่ เป็นกลุ่มชนที่มีถิ่นฐานเดิมอยู่ในที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง และทางตอนใต้ของจีน

ชาวไทยภูเขา มูเซอ เย้า กะเหรี่ยง ม้ง

ผู้พลัดถิ่นสัญชาติพม่า 
บุคคลหลายสัญชาติที่อพยพมาจากพม่าเข้าอยู่ในประเทศไทยก่อนวันที่ 9 มีนาคม 2519 การออกนอกเขตจังหวัดที่อยู่อาศัยต้องขออนุญาตจากปลัดกระทรวงมหาดไทย

ชาวลาวอพยพ 
คนลาวที่อาศัยอยู่กับญาติพี่น้องตามแนวชายแดนของประเทศไทย เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองของลาวในปี พ.ศ. 2517 ขณะนี้ทางการของไทยยังไม่อนุญาตให้เดินทางออกนอกเขตจังหวัดที่อยู่อาศัย

ชาวจีน
ชนกลุ่มน้อยซึ่งสืบเชื้อสายจีน ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วเป็นอดีตทหารพรรคก๊กมินตั๋ง ได้มาตั้งรกรากในพื้นที่ ที่มีความโดดเด่นได้แก่หมู่บ้านสันติคีรี



ขอบคุณข้อมูลจากhttp://www.chiangraifocus.com/travel/tradition.php?id=2
http://sawaddeechiangrai.blogspot.com/2015/10/blog-post_52.html
http://122.155.9.68/identity/index.php/north/n-upper-2/chiangrai

ลักษณะทางภูมิศาสตร์


ที่ตั้ง
จังหวัดเชียงรายตั้งอยู่เหนือสุดของประเทศไทย อยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ 19 องศาเหนือ ถึง 20 องศา 30 ลิปดาเหนือ และเส้นแวงที่ 99 องศา 15 ลิปดา ถึง 100 องศา 45 ลิปดาตะวันออก อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร824 กิโลเมตร

ภูมิประเทศ
จังหวัดเชียงรายมีภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสูงในทวีปตอนเหนือ (North Continental Highland) มีพื้นที่ราบสูงเป็นหย่อม ๆ ในเขตอำเภอแม่สรวย อำเภอเวียงป่าเป้า และอำเภอเชียงของ บริเวณเทือกเขาจะมีความสูงประมาณ 1,500-2,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล โดยมีดอยลังกาหลวง เป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในจังหวัด มีความสูง 2,031 เมตร[4]บริเวณส่วนที่ราบตามลุ่มแม่น้ำสำคัญในตอนกลางของพื้นที่ ได้แก่ อำเภอพาน อำเภอเมืองเชียงราย อำเภอแม่จัน อำเภอแม่สาย อำเภอเชียงแสน และอำเภอเชียงของ มีความสูงประมาณ 410-580 เมตร จากระดับน้ำทะเล
ตั้งอยู่เหนือสุดของประเทศไทย อาณาเขตของจังหวัดทางทิศเหนือติดกับแคว้นเมืองสาด และ แคว้นท่าขี้เหล็ก ของ รัฐฉาน ประเทศพม่า และ แขวงบ่อแก้ว ประเทศลาว ทิศตะวันออกติดกับแขวงอุดมไซ ประเทศลาวทิศใต้ติดกับ อำเภอแม่ใจ อำเภอภูกามยาว อำเภอดอกคำใต้ อำเภอจุน อำเภอเชียงคำ และ อำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา อำเภอเมืองปาน และ อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง ทิศตะวันตกติดกับ อำเภอดอยสะเก็ด อำเภอพร้าว อำเภอไชยปราการ อำเภอฝาง และ อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ และแคว้นเมืองสาด ของ รัฐฉาน ประเทศพม่า มีชายแดนติดกับประเทศพม่ายาว ประมาณ 130 กิโลเมตร และมีชายแดนติดต่อกับลาวประมาณ 180 กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ 11,680 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 7,290,000 ไร่
ลักษณะพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูง มีป่าไม้ปกคลุม บริเวณเทือกเขามีชั้นความสูง 1,500-2,000 เมตร จากระดับน้ำทะเล มีที่ราบเป็นหย่อม ๆ ในระหว่างหุบเขา และตามลุ่มน้ำสำคัญ จังหวัดเชียงรายมีภูเขาล้อมรอบโดยเฉพาะทางทิศตะวันตกเป็นแนวเทือกเขาผีปันน้ำ ติดต่อกันไปเป็นพืดตลอดเขตจังหวัด

ภูมิอากาศ
จังหวัดเชียงรายมีอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 24 องศาเซลเซียส ฤดูร้อน เริ่มจากกลางเดือนกุมภาพันธ์-กลางเดือนพฤษภาคม มีอุณหภูมิประมาณ 37 องศาเซลเซียส ฤดูฝน เริ่มจากกลางเดือนพฤษภาคม-กลางเดือนตุลาคม มีอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 27 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยปีละ 1,768 มิลลิเมตร มากที่สุดในปี 2544 จำนวน 2,287.60 มิลลิเมตรน้อยที่สุดในปี 2546 จำนวน 1,404.10 มิลลิเมตร จำนวนวันที่มีฝนตกเฉลี่ย 143 วันต่อปี ฤดูหนาว (พฤศจิกันยายน – กุมภาพันธ์) จังหวัดเชียงรายมีอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 15.0 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 8.0 องศาเซลเซียส เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2544 สภาพอากาศของจังหวัดเชียงราย ถือว่าหนาวจัดในพื้นที่ราบ อุณหภูมิต่ำสุดจะอยู่ที่ 8-9 องศาเซลเซียส ส่วนบนยอดดอย อุณหภูมิต่ำสุดจะอยู่ที่ 0-5 องศาเซลเซียส จึงทำให้อากาศที่เชียงรายในช่วงฤดูหนาว เป็นพื้นที่ๆ นักท่องเที่ยวอยากมาเป็นอย่างยิ่ง

ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.chiangrai.net/cpwp/?page_id=145
https://sites.google.com/site/phimphidabutrchati/3laksna-phumiprathes

แผนที่จังหวัดเชียงราย



          จังหวัดเชียงราย ตั้งอยู่ตอนเหนือสุดของประเทศไทย อยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ 19 องศาเหนือ ถึง 20 องศา 30 ลิปดาเหนือ และเส้นแวงที่ 99 องศา 15 ลิปดา ถึง 100 องศา 45 ลิปดาตะวันออก
มีเนื้อที่ประมาณ 11,678.369 ตร.ก.ม.  หรือประมาณ 7,298,981 ไร่ มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียง ดังนี้

ทิศเหนือ ติดต่อกับ ประเทศสหภาพพม่า และประเทศสาธารณรัฐ ประชาธิปไตยประชาชนลาว
ทิศใต้ ติดต่อกับ จังหวัดลำปาง และจังหวัดพะเยา
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และจังหวัดพะเยา
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ประเทศสหภาพพม่า และจังหวัดเชียงใหม่

       
มีอำเภอจำนวนทั้งหมด 18 อำเภอ ดังนี้
















ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.chiangrai.net/cpwp/?page_id=145